บูรณาการระบบส่งต่อและส่งกลับ กรณีผู้ป่วยมารดาและทารก
รัฐพล เตรียมวิชานนท์
เป็นที่ทราบกันว่าระบบส่งต่อและส่งกลับ มีความสำคัญในระบบบริการสาธารณสุข เนื่องจากหน่วยบริการมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างระบบบริการ งบประมาณ บุคลากร โดยเฉพาะในประเทศไทย กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านทารกแรกเกิดยังมีจำนวนน้อยมาก ครุภัณฑ์และทีมบุคลากรในหอผู้ป่วยหนักยังมีจำกัดเฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ซึ่งแม้แต่ในโรงพยาบาลศูนย์ของกระทรวงสาธารณสุขบางแห่ง ก็ยังไม่สามารถจัดบริการได้ครบถ้วน ทางออกเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ผู้เขียนใคร่ขอเสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาให้ทารกและมารดาที่เจ็บป่วยได้รับการดูแลโดยมีระบบส่งต่อที่เหมาะสม
ระบบส่งต่อควรเริ่มเมื่อใด
ระบบส่งต่ออาจเริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด จนถึงหลังคลอด เมื่อแพทย์หรือบุคลกรทางการแพทย์ ได้ตรวจประเมินคู่สมรสที่จะตั้งครรภ์ ต้องการตั้งครรภ์แต่มีความเสี่ยง หรือมีความผิดปกติจากโรคทางพันธุกรรม มีประวัติการคลอดผิดปกติ บุคคลากรทางการแพทย์ทุกระดับควรให้ความสำคัญและใช้กระบวนการให้คำปรึกษา เพื่อป้องกันปัญหา หากเกินศักยภาพของตนเองหรือหน่วยงาน ควรส่งผู้ป่วยพร้อมครอบครัวเข้ารับบริการที่หน่วยบริการระดับที่สูงขึ้น และกระบวนการฝากครรภ์ควรให้ความสำคัญกับการบันทึกข้อมูลลงในสมุดประจำตัวหญิงตั้งครรภ์ (สมุดฝากครรภ์สีชมพู) เนื่องจากพบว่า การฝากครรภ์และการคลอดอาจไม่ใช่หน่วยบริการเดียวกันบ่อยครั้ง การส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผู้รักษาต่อมีข้อมูลมากพอสำหรับการตัดสินใจ ผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ คือหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อย ซึ่งมักมีภาวะการคลอดก่อนกำหนด
ระดับของหน่วยบริการเป็นอย่างไร
ในระบบบริการสาธารณสุข อาจแบ่งระดับบริการออกเป็น 3 ระดับ ตามขีดความ สามารถของทีมผู้รักษา จำนวนเตียง และครุภัณฑ์ได้คร่าว ๆ ดังนี้
จะเห็นได้ว่าการจัดระดับของหน่วยบริการ เพื่อให้บทบาทภารกิจของแต่ละหน่วยได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเหมาะสม แต่ปัจจุบันหญิงตั้งครรภ์นิยมไปรับบริการในหน่วยบริการระดับสูงจนเกิดความแออัดโดยไม่จำเป็น ส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญต้องรับภาระงานที่ควรทำได้ในระดับบริการปฐมภูมิ การจัดระบบระเบียบในเรื่องการเข้ารับบริการจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องแก้ไข โดยต้องอาศัยความเข้าใจของประชาชน และผู้ให้บริการเข้าใจถึงบทบาทหน่วยบริการประจำครอบครัว เพื่อเป็นด่านหน้าของการดูแลสุขภาพ และส่งต่อเมื่อจำเป็น
สังกัดของหน่วยบริการมีอะไรบ้าง
หน่วยบริการทางสาธารณสุขในประเทศไทยมีผู้ให้บริการหลายสังกัด โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร จะมีโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนหลายระดับ พอจำแนกได้ ดังนี้
- กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ให้บริการหลัก ซึ่งมีสถานีอนามัย เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ กระจายอยู่ทั่วประเทศ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิศสิน โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี
- โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี ฯลฯ
- โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม เช่น โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
- โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาลตำรวจ
- โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร เช่น วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพและวชิร พยาบาล โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลลาดกระบัง โรงพยาบาลหนองจอก โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ โรงพยาบาล ราชพิพัฒน์
- โรงพยาบาลของหน่วยงานรัฐ / รัฐวิสาหกิจ เช่น โรงพยาบาลยาสูบ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก
- โรงพยาบาลเอกชน
ระบบการจ่ายเป็นอย่างไร
การใช้บริการทางสาธารณสุข ประชาชนจะมีสิทธิในหลักประกันสุขภาพ 3 ระบบหลัก คือ ระบบสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ซึ่งการดูแลผู้ป่วยจำเป็นต้องจำแนกได้ว่าผู้ป่วยมีสิทธิอะไร หากไม่แสดงสิทธิซึ่งผู้ป่วยต้องชำระเงินเอง จะต้องคำนึง ถึงเศรษฐานะของตน เนื่องจากการบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทารกแรกเกิดที่มีปัญหา จะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก บุคลากรทางการแพทย์ ควรแนะนำให้ผู้มารับบริการได้รับสิทธิของตนตามระบบ
ระบบเครือข่ายน่าจะเป็นทางออก
เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเนื่องจาก ศักยภาพของหน่วยบริการที่อยู่ในระดับสูงมีจำกัด หากไม่มีการจัดระบบเครือข่ายของการส่งต่อ จะทำให้หน่วยงานต้นทางมีความสับสน เกิดการกระจุกตัวของการบริการ มีปัญหาเตียงที่จะรองรับ การจัดเครือข่ายจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ และต้องมีผู้ประสานงานเครือข่าย มีการจัดประชุมเพื่อวางระบบ และสร้างมาตรฐานการส่งต่อตามระดับของศักยภาพร่วมกัน มีระบบสื่อสารที่ดี รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์คุ้นเคยระหว่างหน่วยงานเพื่อการประสาน เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น
ทั้งนี้การส่งต่อมารดาและทารกย่อมไม่ใช่สิ่งที่ง่าย แต่เชื่อว่าผู้ปฏิบัติงานหากมีความรู้ในเรื่องที่จำเป็น ลำดับในการส่งต่อผู้ป่วย มีการวางแผนประสานงานที่ดี มีเครือข่ายที่ทำงานประสานกัน เข้าใจซึ่งกันและกัน จะสามารถช่วยลดอัตราตาย ความพิการ ภาวะแทรกซ้อนของมารดา และทารกได้ในที่สุด
ตัวอย่างการจัดการเครือข่ายระบบส่งต่อ
(สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร )